head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: กล้ามเนื้อฉีก (Muscle Strain)  (อ่าน 44 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 293
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: กล้ามเนื้อฉีก (Muscle Strain)
« เมื่อ: วันที่ 20 ธันวาคม 2024, 16:52:46 น. »
Doctor At Home: กล้ามเนื้อฉีก (Muscle Strain)

กล้ามเนื้อฉีก เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อในร่างกายถูกใช้งานมากเกินไปหรือเกิดแรงตึงอย่างรุนแรงจนทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อบาดเจ็บและอาจฉีกขาด ทำให้รู้สึกเจ็บอย่างกะทันหันหรือขยับกล้ามเนื้อได้จำกัด มักเกิดกับกล้ามเนื้อบริเวณที่มีการใช้งานหนัก เช่น หลังส่วนล่าง ต้นขาด้านหลัง น่อง หน้าอก หน้าท้อง และเอ็นร้อยหวาย

กล้ามเนื้อฉีกพบได้บ่อยในผู้ที่เล่นกีฬาหรือคนทำงานที่ต้องใช้แรง กล้ามเนื้อฉีกส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงมากและสามารถรักษาได้ด้วยตนเอง แต่ในบางกรณีที่กล้ามเนื้อฉีกอย่างรุนแรงก็อาจต้องรับการรักษาโดยแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากเกิดกล้ามเนื้อฉีกควรพักกล้ามเนื้อ และรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว

อาการกล้ามเนื้อฉีก

อาการกล้ามเนื้อฉีกในแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ บริเวณที่บาดเจ็บ และความรุนแรงของการบาดเจ็บ โดยมักปรากฏอาการต่าง ๆ ดังนี้

    มีอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นมาอย่างฉับพลัน ซึ่งจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย
    มีอาการบวมหรือมีรอยฟกช้ำที่กดแล้วรู้สึกเจ็บ
    กล้ามเนื้อหดเกร็ง กระตุก หรือเป็นตะคริว
    กล้ามเนื้ออ่อนล้า เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างจำกัด

หากอาการกล้ามเนื้อฉีกไม่รุนแรงมาก เช่น มีอาการปวดไม่มาก ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เพียงแต่เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด อาการเหล่านี้สามารถดูแลได้ด้วยตนเองที่บ้านและจะดีขึ้นภายใน 1–2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการรุนแรง เช่น ปวด บวม ช้ำอย่างรุนแรง อาการกล้ามเนื้ออ่อนล้าไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง เคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ มีไข้ รวมถึงหากดูแลอาการด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา


สาเหตุของกล้ามเนื้อฉีก

กล้ามเนื้อฉีกมักเกิดจากการที่กล้ามเนื้อถูกแรงตึงอย่างรุนแรงและกะทันหันจนเส้นใยกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบาดเจ็บ โดยปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อฉีก เช่น

    กล้ามเนื้อตึงและมีความยืดหยุ่นน้อย หรือการไม่อบอุ่นร่างกายอย่างเหมาะสมก่อนออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก
    การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแบบเดิมซ้ำ ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น การฝึกซ้อมกีฬา การเต้น หรือการทำงานบางประเภทอย่างการยกของหนักเป็นประจำ
    การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการปะทะหรือกระแทก เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล และชกมวย รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ เช่น ลื่น หกล้ม หรือขาพลิก

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อฉีกได้ด้วย เช่น เมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อจะมีความยืดหยุ่นน้อยลงทำให้อาจเกิดกล้ามเนื้อฉีกได้ง่าย รวมถึงหากเคยเกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกมาก่อนและไม่ได้พักฟื้นกล้ามเนื้อให้หายดี ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อฉีกซ้ำบริเวณเดิมได้เช่นกัน


การวินิจฉัยกล้ามเนื้อฉีก

แพทย์จะวินิจฉัยอาการกล้ามเนื้อฉีกในเบื้องต้นด้วยการซักประวัติ สอบถามอาการ สอบถามสาเหตุของการบาดเจ็บ และตรวจร่างกายบริเวณที่มีอาการปวด บวม หรือมีรอยช้ำ เพื่อให้ทราบตำแหน่งและความรุนแรงของอาการที่แน่ชัด

ในกรณีที่กล้ามเนื้อฉีกและมีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อดูการฉีกขาดของกล้ามเนื้อเพิ่มเติม รวมถึงอาจมีการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือซีทีสแกน (CT scan) เพื่อดูว่ามีภาวะแทรกซ้อน มีเลือดออกหรือมีการบาดเจ็บในบริเวณใกล้เคียงด้วยหรือไม่


การรักษากล้ามเนื้อฉีก

การรักษากล้ามเนื้อฉีกสามารถรักษาได้ด้วยตนเองถ้ามีอาการไม่รุนแรงและไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แต่ถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจจำเป็นต้องรับการรักษาโดยแพทย์ ซึ่งมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนี้


การรักษาด้วยตนเอง

การรักษาด้วยตนเองจะเป็นการรักษาตามหลักการ RICE เพื่อลดอาการปวดและอาการบวม โดยมีวิธีการดังนี้

    Rest พักการใช้กล้ามเนื้อโดยหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายในบริเวณที่บาดเจ็บอย่างน้อยประมาณ 2–3 วัน
    Ice ประคบเย็นบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อลดอาการปวดและอาการบวม โดยอาจประคบเป็นเวลา 20 นาทีทุก 1-2 ชั่วโมงในวันแรก ส่วนวันต่อไปอาจประคบเย็นทุก 4 ชั่วโมง
    Compression รัดบริเวณที่บาดเจ็บด้วยผ้าพันแผลแบบยืดเพื่อลดอาการบวม แต่ไม่ควรรัดแน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
    Elevation ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม โดยอาจใช้หมอนหนุนขาให้สูงขึ้นในขณะที่กำลังนอนราบ

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรพักกล้ามเนื้อนานจนเกินไป เพราะอาจทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง หลังจาก 3 วันถ้าอาการเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยอาจค่อย ๆ ฟื้นฟูกล้ามเนื้อด้วยการเคลื่อนไหวเบา ๆ แล้วค่อยเพิ่มระดับการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น หรืออาจประคบร้อนเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดร่วมด้วย

ในระหว่างการรักษาด้วยตนเอง ผู้ป่วยอาจรับประทานยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) เพื่อลดอาการปวดร่วมด้วย แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต หรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาใด ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อโรคประจำตัวที่เป็นอยู่

การรักษาโดยแพทย์

การรักษาโดยแพทย์ หากผู้ป่วยไม่ได้มีโรคประจำตัวที่ร้ายแรงจนไม่สามารถรับประทานยาได้ แพทย์อาจจ่ายยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เพื่อลดอาการปวดเช่นเดียวกับการรักษาด้วยตนเอง ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดและอาการกระตุกของกล้ามเนื้อร่วมด้วย

นอกจากนี้ หากกล้ามเนื้อฉีกรุนแรงแพทย์อาจให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง ไม้ค้ำ หรือใส่เฝือกเพื่อลดการเคลื่อนไหวในบริเวณที่บาดเจ็บ และทำกายภาพบำบัดเพื่อช่วยช่วยปรับปรุงการเคลื่อนไหวและเสริมการแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในกรณีที่กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาดอย่างรุนแรงหรือหลังจาก 6 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น  แพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัด แต่เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก


ภาวะแทรกซ้อนของกล้ามเนื้อฉีก

โดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อฉีกมักหายดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แต่หากผู้ป่วยพักฟื้นไม่เพียงพอในช่วงที่กล้ามเนื้อฉีกหรือกลับไปทำกิจกรรมเดิมในขณะที่อาการกล้ามเนื้อฉีกยังไม่หายดี ก็อาจทำให้เกิดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำในบริเวณเดิมได้ ภาวะแทรกซ้อนนี้จะพบบ่อยในนักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อในการแข่งขันอยู่เสมอ เมื่อได้รับบาดเจ็บจึงอาจไม่ได้ฟักฟื้นอย่างเต็มที่

รวมถึงในกรณีที่มีอาการกล้ามเนื้อฉีกรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่เคยทำได้เหมือนปกติ และอาจมีอาการปวดเรื้อรัง

การป้องกันกล้ามเนื้อฉีก

กล้ามเนื้อฉีกมักเกิดในระหว่างการเล่นกีฬา การทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุทั่วไป การป้องกันกล้ามเนื้อฉีกจึงควรเน้นไปที่การลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมกล้ามเนื้อให้มีความยืดหยุ่นอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดความรุนแรงหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยมีวิธีป้องกันดังนี้

    อบอุ่นร่างกายทั้งก่อนและหลังการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากทุกครั้ง
    ใส่รองเท้าที่พอดีกับเท้าและถูกประเภทกับกิจกรรมที่ทำ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บเช่น ใส่รองเท้าวิ่งสำหรับการวิ่ง
    รักษาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายอยู่เสมอ แต่ควรออกกำลังกายอย่างพอดีและเหมาะสมกับเงื่อนไขสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
    หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนท่าเดียวเป็นเวลานาน โดยอาจทำกายบริหารเพื่อช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อในระหว่างที่นั่งหรือยืน
    ระวังการลื่นหรือหกล้ม เช่น งดเล่นโทรศัพท์และจับราวบันไดเมื่อขึ้นหรือลงบันได หลีกเลี่ยงการเดินในพื้นที่เปียก และเก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
    ยกของด้วยท่าที่ถูกต้องโดยการงอเข่าและเกร็งหลังให้ตรง หากของหนักเกินไปไม่ควรยกคนเดียว

 






























































รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย