โรคหัวใจมีกี่ชนิด ? อาการแบบนี้ เสี่ยงชนิดไหน!
รู้หรือไม่ บางครั้ง อาการเจ็บหน้าอก ไม่ได้หมายถึงอาการของโรคหัวใจเสมอไป อาการเจ็บหน้าอกอาจเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอักเสบ เส้นประสาทอักเสบ มาเช็คดูกันนะคะ ว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
แสบร้อนที่หน้าอกหรือลิ้นปี่ บางครั้งมีเรอเปรี้ยว มักเป็นขณะอิ่ม เกิดจากโรคกรดไหลย้อน
เจ็บแปล๊บๆ เหมือนถูกเข็มแทงหรือถูกไฟช็อต เกิดจากเส้นประสาทอักเสบ
เจ็บเวลาหายใจเข้าลึกๆ หรือเมื่อเอี้ยวตัว เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
กดเจ็บบริเวณหน้าอก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกซี่โครงใกล้ๆ ทรวงอก เกิดจากกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
เจ็บตลอดเวลา เป็นนานหลายชั่วโมง หรือเป็นวันโดยที่ไม่มีอาการร้ายแรงอื่นๆ เกิดจากกล้ามเนื้อเอ็นหรือกระดูกซี่โครงอ่อนอักเสบ
อาการเจ็บไม่สัมพันธ์กับความหนักเบาของกิจกรรม เช่น เจ็บเวลานั่งหรือนอน แต่ขณะทำงานบางครั้งก็ไม่เจ็บ แม้จะออกแรงมากกว่าหรือเหนื่อยกว่า
อาการเจ็บหน้าอกเฉพาะด้านขวา
คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? โรคหัวใจตรวจด้วยวิธีใดได้บ้าง
โรคหัวใจถือเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยในผู้ป่วยบางรายมักมีสัญญาณเตือนก่อน เช่น เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เจ็บหน้าอก หายใจเข้าได้ลำบาก เป็นต้น แต่ในผู้ป่วยบางรายก็ไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใด
จู่ๆ ก็ใจสั่น สาเหตุของอาการใจสั่น
อาการใจสั่น เกิดจากการที่หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเบาเกินไป หรือแรงเกินไป เต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน มีความเครียด หรือแม้กระทั่งผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคได้ สาเหตุของอาการใจสั่น เกิดจากอะไรได้บ้าง?
1. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจของคุณจะเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจสั่นที่ทำให้เรารู้สึกได้
2. การรับประทานยาบางชนิด
ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความดัน เป็นต้น ซึ่งหากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้ใจสั่นได้
3. ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
หากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายอาจมีอาการ มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ใจหวิวๆ เหมือนใจสั่นได้
เจ็บหน้าอกแต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/