head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจมีอาการอย่างไร  (อ่าน 6 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 238
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจมีอาการอย่างไร
« เมื่อ: วันที่ 18 พฤศจิกายน 2024, 15:55:51 น. »
โรคหัวใจมีอาการอย่างไร

อาการของโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ

    อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
        เจ็บแน่นหน้าอก มักมีอาการแน่น อึดอัด เหมือนมีสิ่งกดทับกลางอก อาจมีอาการปวดร้าวไปกราม ไหล่ หรือแขนซ้าย มักเป็นมากขึ้นเมื่อออกกำลังและหากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการเมื่ออยู่เฉย ๆ
        เหนื่อยง่ายหายใจถี่
        นอนราบไม่ได้
        บวม
        หัวใจเต้นผิดจังหวะ
        หน้ามืดหมดสติ

    อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart Arrhythmias)
    หัวใจของคุณอาจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือไม่สม่ำเสมอ อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจรวมถึง
        หัวใจเต้นสะดุด หรือเต้นเร็ว ๆ รัวๆ (Heart Palpitations)
        เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกไม่สบาย (Chest pain or discomfort)
        หายใจถี่ (Shortness of breath) หอบง่าย (Dyspnea on exertion)
        มึนศีรษะ (Lightheadedness)
        วิงเวียนศีรษะ (Dizziness)
        เป็นลมหมดสติ (Syncope)

    อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากหัวใจพิการแต่กำเนิด (Heart Defects)
    ความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิด มักจะสังเกตเห็นได้หลังคลอดไม่นาน โดยมักมีสัญญาณและอาการผิดปกติของหัวใจในเด็กอาจรวมถึง
        สีผิวซีดเทา เขียว
        อาการบวมที่ขา หน้าท้อง หรือบริเวณรอบดวงตา
        ในทารกมักมีอาการหายใจถี่ระหว่างการให้น้ำนม ทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น
        นิ้วปุ้ม (Clubbing of fingers)

ความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงน้อยกว่ามักไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกว่าจะถึงในวัยเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่ สัญญาณและอาการของความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิดมักไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในทันที ได้แก่

        หายใจไม่ออกระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
        เหนื่อยง่ายระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม
        อาการบวมที่มือ ข้อ หรือเท้า
        ปากและเล็บเขียวคล้ำ

    อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
    ในระยะแรกของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ อาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น สามารถสังเกตได้จาก
        หายใจไม่ออกขณะทำกิจกรรมหรือพักผ่อน
        อาการบวมที่ขา ข้อ และเท้า
        อาการเหนื่อยล้า เหนื่อยง่าย หายใจถี่
        นอนราบไม่ได้
        การเต้นของหัวใจผิดปกติ
        เวียนศีรษะ มึนงง และเป็นลม


อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากการติดเชื้อ (Heart Infection)

    เยื่อบุหัวใจอักเสบ คือการติดเชื้อที่มีผลต่อเยื่อบุด้านในของห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ (Endocardium) สัญญาณและอาการของการติดเชื้อที่หัวใจอาจรวมถึง
        มีไข้หายใจถี่
        อ่อนแอ เหนื่อยล้า
        มีอาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง
        การเต้นของหัวใจผิดปกติ
        อาการไอแห้ง
        มีผื่นขึ้นหรือมีจุดที่ผิวหนัง เล็บ ขึ้นผิดปกติ

    อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว (Valvular Heart Disease)
    ลิ้นหัวใจทำหน้าที่เปิดและปิดเพื่อให้เลือดไหลผ่านหัวใจในทิศทางเดียว ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำลายลิ้นหัวใจได้ โดยอาการแสดงของโรคลิ้นหัวใจตีบและรั่วอาจรวมถึง
        อาการเหนื่อยล้า
        หายใจถี่ เหนื่อยง่าย
        การเต้นของหัวใจผิดปกติ
        เท้าหรือข้อเท้าบวม เจ็บหน้าอก
        เป็นลมหมดสติ


ควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการเหล่านี้

    เจ็บหน้าอก
    หายใจถี่ เหนื่อยง่าย
    เป็นลม

โรคหัวใจจะรักษาได้ผลดีหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับอาการของคุณ หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคหัวใจ นี่คือสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ


สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ

สาเหตุของโรคหัวใจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้น ๆ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจจากภาวะการเสื่อมของหลอดเลือด มีสาเหตุไม่ชัดเจนแต่พบว่าสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยปัจจัยเสี่ยงแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

    ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และสามารถปรับเปลี่ยนได้
    ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้และไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เช่น อายุ เพศ หรือประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว แต่สามารถชะลอโรคด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่บริหารเองได้เพื่อป้องกันโรคหัวใจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

    อายุ - การมีอายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหาย ตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
    เพศ - ผู้ชายทั่วไปมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน
    ปัจจัยทางพันธุกรรม - ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพ่อแม่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 55 ปีสำหรับผู้ชาย และ 65 สำหรับผู้หญิง)
    สูบบุหรี่ - สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดของคุณมีสภาวะหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
    การกินอาหารแบบผิด ๆ - อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
    ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
    ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง - ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงโดยเฉพาะชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-cholesterol) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
    โรคเบาหวาน - โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
    โรคอ้วน - น้ำหนักส่วนเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
    การขาดการออกกำลังกาย - มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
    ความเครียด - ปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิตใจ อาจส่งผลไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น
    สุขภาพฟันที่ไม่ดี - พบรายงานแพทย์ถึงโรคฟันและเหงือกอักเสบสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น


ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ

    ภาวะหัวใจล้มเหลว
    เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ เกิดขึ้นเมื่อหัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเป็นผลมาจากโรคหัวใจหลายประเภท รวมถึงความบกพร่องของหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคลิ้นหัวใจ การติดเชื้อที่หัวใจ
    หัวใจวาย หากเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันกระทันหัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ไฟฟ้าหัวใจผิดปกติจนเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรงจนหัวใจหยุดเต้น (cardiac arrest)
    โรคหลอดเลือดสมอง
    คือ ปัจจัยเสี่ยงสามารถนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองของคุณแคบลงหรือถูกปิดกั้นทำให้เลือดเข้าสู่สมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองขาดเลือด
    หลอดเลือดแดงโป่งพอง
    เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกายโดยหากหลอดเลือดโป่งพองแตก จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกภายในอย่างมากและรวดเร็ว เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
    โรคหลอดเลือดส่วนปลาย
    หากเป็นโรคหลอดเลือดส่วนปลาย สิ่งนี้ทำให้เกิดอาการปวดแขนหรือขาเมื่อออกแรง เหตุเพราะเลือดไปเลี้ยงได้ไม่เพียงพอ (Claudication) และหากอุดตัน จะทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อส่วนปลาย เช่น เท้า ได้
    ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
    คือ การสูญเสียการทำงานของหัวใจ การหายใจและหมดสติอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิด ซึ่งมักเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันเป็นภาวะฉุกเฉิน หากไม่ได้รับการรักษาทันทีจะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจตายอย่างกะทันหัน


การป้องกันโรคหัวใจ

ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยสิ่งหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก เช่น

    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
    รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ
    ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
    ลดความเครียด
    ฝึกสุขอนามัยที่ดี

วิธีรักษาโรคหัวใจเพื่อลดความเสี่ยงของโรค

การวินิจฉัยโรคหัวใจ

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและสอบถามประวัติของคนไข้และครอบครัว นอกจากการสอบถามประวัติโดยละเอียด การตรวจร่างกายการตรวจเลือด และเอกซเรย์ทรวงอกแล้ว การทดสอบพิเศษทางหัวใจต่างๆจะช่วยในการวินิจฉัย เช่น

    การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG)
    คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจทดสอบที่รวดเร็วและไม่เจ็บปวด
    เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง หรือ Ambulatory ECG Monitoring หรือ Holter ECG
    เป็นอุปกรณ์ ECG แบบพกพาที่สามารถใส่เพื่อบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจอย่างต่อเนื่องโดยปกติจะใช้เวลา 24 ถึง 72 ชั่วโมง การตรวจสอบ โดยใช้เพื่อตรวจจับปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่พบในระหว่างการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ
    การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ Echocardiogram
    เป็นการทดสอบแบบใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อสร้างภาพและตรวจวัดโครงสร้างหัวใจโดยละเอียด ขนาดของหัวใจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจลิ้นหัวใจผนังกั้นและผนังหุ้มหัวใจ
    Stress Test
    เป็นการทดสอบการเพิ่มอัตราการเต้นและบีบตัวของหัวใจด้วยการออกกำลังกาย หรือยา และวัดการตอบสนองทั้งชีพจรความดันโลหิตความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและบางรายวัดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจโดยการตรวจ Echocardiogram (Stress Echocardiogram) ช่วยในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางครั้งประเมินหลอดเลือดและสมรรถภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่ผนังหัวใจ
    การสวนหัวใจ
    เป็นการใส่ท่อสั้น ๆ เข้าไปในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงบริเวณขาหรือแขน เพื่อตรวจวัดภายในห้องหัวใจโดยตรงหรือการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หรือผนังกั้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ หรือ CT SCAN
    เป็นการทดสอบแบบใช้เอ็กซเรย์เพื่อสร้างภาพโครงสร้างโดยละเอียด เพื่อวัดคะแนนหินปูนของหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Score) และหากฉีดสารทึบรังสีด้วย จะได้ภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดปอด เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ผนังหัวใจ


การรักษาโรคหัวใจ

ชนิดการรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ โดยทั่วไปมักประกอบด้วย:

    การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
    ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ด้วยการรับประทานอาหารสุขภาพ เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เกลือโซเดียมสูง ไขมันอิ่มตัวสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 แทน เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้หลากหลายชนิด ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    ยา
    หากการปรับเปลี่ยงวิถีชีวิตเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อควบคุมโรคหัวใจหรือปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ

การรักษาอื่น ๆ นอกจากการรับประทานยา

    การรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด
        การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
        การขยายลิ้นหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน
        การใส่ลิ้นหัวใจเทียมแทนลิ้นหัวใจที่ตีบจากการเสื่อมสภาพ โดยการสอดใส่ผ่านทางหลอดเลือด
        การปิดกั้นผนังกั้นหัวใจที่รั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านทางหลอดเลือด
        การจี้หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงโดยการใส่สายผ่านทางหลอดเลือด
        การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร
        การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
        การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หลอดเลือดของผู้ป่วยเอง (Coronary artery bypass graft surgery)
        การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม
    การรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้สามารถกลับมาแข็งแรงใช้ชีวิตประจำวันได้ และหากเป็นไปได้ให้สามารถออกกำลังกายได้มากขึ้น เพื่อช่วยในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงลดอาการโรคหัวใจได้ดีขึ้น โดยในช่วงแรกอาจอยู่ภายใต้การดูแลใกล้ชิดของแพทย์และนักกายภาพบำบัด และค่อย ๆ ปรับเพิ่มโปรแกรมที่สามารถทำได้เองมากขึ้นจนสามารถปฏิบัติเองได้ที่บ้านทั้งหมด

 






























































รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย